5 วิธีนอนให้ถูกวิธีช่วยลดพุง นอนเร็วช่วยลดน้ำหนักได้!

bizfit-sleepforweightloss

ลองปรับพฤติกรรมดูค่ะ จากที่นอนเที่ยงคืนตีหนึ่ง เลื่อนขึ้นมาเป็นสี่ทุ่ม ห้าทุ่ม ทำต่อเนื่องสักเดือน เชื่อเถอะว่าเห็นการเปลี่ยนแปลงแน่นอน ลดน้ำหนักได้พร้อมหุ่นดีได้ด้วยการนอน

นอนน้อย ไม่มีคุณภาพ >> ปัจจัยสำคัญ เสี่ยงโรคอ้วน และน้ำหนักเกินเกณฑ์!

ระยะเวลานอนหลับที่เหมาะสมของแต่ละคนต่างกัน บางคน 6 ชั่วโมงก็พอแล้ว บางคนต้อง 8 ชั่วโมงขึ้นไป แต่จากการวิจัยคร่าวๆ ถ้าเธอนอนน้อยกว่า 7 ชั่วโมง น้ำหนักจะเริ่มเปลี่ยนแปลง เสี่ยงเป็นโรคอ้วนในเด็ก 89% และในผู้ใหญ่ 55% (เพราะเด็กเป็นวัยที่ต้องนอนเยอะกว่าผู้ใหญ่ ถ้าอดนอนก็จะได้ผลกระทบที่รุนแรงกว่า)

นอนไม่พอ >> เพิ่มแคลอรี่ที่ได้รับต่อวัน โดยไม่รู้ตัว!

มีการศึกษากับผู้ชาย 12 คน ให้นอนแค่ 4 ชั่วโมง/วัน พวกเขาจะกินอาหารเพิ่มเฉลี่ย 559 แคลอรี่ในวันรุ่งขึ้น ซึ่งการกินเยอะขึ้น ก็เกี่ยวข้องกับความอยากอาหารและการเลือกชนิดอาหารสุขภาพไม่เป็นนั่นเอง แต่ในหลายเคส ก็ไม่ได้เกี่ยวกับฮอร์โมนโดยตรง แค่พอนอนดึก เวลาตื่นก็นานขึ้น ทำให้มีเวลากินนานขึ้นไปด้วย ยิ่งเป็นเวลาที่นอนเฉยๆ มีของกินอยู่ข้างตัว ก็เสร็จโจร!

นอนน้อย อดนอน >> ลดระบบเผาผลาญ จึงอ้วนง่าย!

มีงานวิจัยหนึ่งพบว่า การอดนอนจะลด RMR ลงอย่างมีนัยสำคัญ มีการทดลองให้ผู้ชาย 15 คน โต้รุ่งทั้งคืน ไม่นอนเลยตลอด 24 ชั่วโมง ผลลัพธ์คือ RMR ตกลง 5% และระบบเมตาบอลิซึ่มปกติหลังกินข้าวเสร็จ ก็ลดต่ำลงถึง 20% แต่อีกงานวิจัยก็บอกว่า ไม่ได้มีผลอะไร จึงอาจจะขึ้นอยู่กับคน แต่เราก็ปลอดภัยไว้ก่อนดีกว่า

การนอนหลับ ทำให้มีแรง ทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น!

มีการศึกษาในผู้ชาย 15 คน พบว่า ถ้าผู้เข้าทดลองอดนอน แล้วไปออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆ ความเข้มข้นและระยะเวลาออกกำลังจะน้อยลง แต่ถ้าได้นอนเต็มที่ จะช่วยให้เล่นกีฬา ออกแรงได้ดีขึ้น จากการศึกษาในนักกีฬาบาสเก็ตบอล ให้นอน 10 ชั่วโมง/ วัน ต่อเนื่อง 7 สัปดาห์ เมื่อมาลงสนาม พวกเขาจะเคลื่อนไหวรวดเร็วขึ้น ตอบสนองกับเกมกีฬาได้ดีขึ้น การกะทำได้แม่นยำ เหนื่อยน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด

นอนหลับเพียงพอ >> ป้องกันภาวะต้านอินซูลิน

การอดนอน นอนน้อย จะส่งผลกระทบต่อเซลล์ในร่างกาย ทำให้เกิดภาวะต้านอินซูลินได้ค่ะซิส! อินซูลินคือฮอรโมนที่เอาน้ำตาลออกจากกระแสเลือด เข้าไปในเซลล์ร่างกาย เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน หากเซลล์เกิดภาวะต้านอินซูลิน น้ำตาลจะไหลเข้ากระแสเลือดเรื่อยๆ แบบไร้ขีดจำกัด ซึ่งร่างกายก็จะยิ่งผลิตอินซูลินเพิ่มขึ้นเพื่อให้มันสมดุลกัน วนไปเรื่อยๆ ภาวะนี้จะนำไปสู่ภาวะหิวง่าย หิวบ่อยกว่าเดิม ทำให้ร่างกายกักเก็บไขมันมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่โรคเบาหวานประเภท 2 และโรคอ้วน

Cr. sistacafe.com